Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์
                                                    ขอบคุณภาพจาก http://www.montfort.ac.th/

-     คือ การที่นักเรียนมีปัญหา หรือข้อสงสัย แล้วนำปัญหานั้นไปทดลองศึกษาแก้ปัญหา โดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำผลงานมาเสนอวิเคราะห์
-     เป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วรวบรวมสรุป วิเคราะห์ รายงานผลที่ได้จากการศึกษา

     ความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

            การศึกษาค้นคว้าด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนเกิด  การเรียนรู้ มีประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงฝึกแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะติดตัว
ผู้เรียนไปตลอด   เมื่อมีข้อสงสัย หรือปัญหาเกิดขึ้น จะแก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าความรู้ที่ขาดการปฏิบัติ ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าว
 จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าแสดงออก


โครงงานวิทยาศาสตร์ ทำได้หลายรูปแบบ 
                  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง   โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ 
                  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
    แต่ที่นักเรียนนิยมทำกัน มี3ประเภท คือ ทดลอง สำรวจ   และสิ่งประดิษฐ์   สำหรับ
   ประเภท ทฤษฎี เหมาะสมสำหรับระดับมัธยมปลาย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ชั้นสูง

 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง 
   มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรต้น ที่มีผลต่อ
  ตัวแปรตาม โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อผลการทดลอง

 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
         เป็นโครงงานที่ผู้ทำโครงงาน ได้เสนอทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ
         ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือ คำอธิบายก็ได้

  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทประดิษฐ์
   เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยต่าง ๆ อาจคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือดัดแปลง ปรับปรุง ของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ
    เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่นำมาเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะ หรือรูปแบบสัมพันธ์ของเรื่องที่ศึกษาได้ชัดเจนขึ้น

 วิธีการทางวิทยาศาสตร์

1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.รวบรวมข้อมูล
4.ทดลอง
5.สรุปผล

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.ทักษะการกำหนด และควบคุมตัวแปร
2.ทักษะการคำนวณ
3.ทักษะการจัดทำ และสื่อความหมายข้อมูล
4.ทักษะการจำแนกประเภท
5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน
6.ทักษะการตีความหมาย
7.ทักษะการทดลอง
8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
9.ทักษะการพยากรณ์
10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
11.ทักษะการวัด
12.ทักษะการ สังเกต
13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา

ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

 การกำหนดตัวแปร  เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
ในสมมติฐานหนึ่ง ๆ

     
การควบคุมตัวแปร   เป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถ้าหากไม่ควบคุม
ให้เหมือนๆ กัน ก็จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน

    
ตัวแปรต้น  คือ สิ่งที่เราต้องจัดให้แตกต่างกัน ซึ่งเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดผล ซึ่งเราคาดหวังว่าจะแตกต่างกัน

    
ตัวแปรตามคือ สิ่งที่เราต้องติดตามดู ซึ่งเป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่าง
ให้แตกต่างกัน

    
ตัวแปรควบคุม  คือ สิ่งที่เราต้องควบคุมจัดให้เหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลอง
เกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

ทักษะการคำนวณ  คือ การนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้
             มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย

ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล
เป็นการนำผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่งต่าง ๆ โดยการหาความถี่
เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย
ของข้อมูลดียิ่งขึ้น    โดยอาจเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร
กราฟ สมการ และการเขียนบรรยาย



ทักษะการ จำแนกประเภท
             คือ การแบ่งพวก หรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์
โดยใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง


ทักษะการทดลอง
           มี3ประเภท  คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่ม เปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่ม
เปรียบเทียบและลองผิดลองถูก

           การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือการทดสอบ
สมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย3ขั้นตอน คือ  
การออกแบบการทดลอง
การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลอง

ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
        คือ การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ
             (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง)
             ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้
ทักษะการพยากรณ์
         คือ การสรุปคำตอบล่วงหน้า ก่อนการทดลองโดยอาศัยประสบการณ์
         ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น
         มาช่วยในการสรุป

     การพยากรณ์มีสองทาง

         คือ การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลที่มีอยู่และ
             การพยากรณ์นอกขอบเขตข้อมูลที่มีอยู่

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
          คือ การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล
              โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย


ทักษะการวัด 
          คือ การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ
               ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง
             โดยมีหน่วยกำกับเสมอ



ทักษะการ สังเกต
      คือ ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
            เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็น
           ส่วนตัวลงไป

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวลา
         วัตถุต่าง ๆ ในโลกนี้ จะทรงตัวอยู่ได้ ล้วนแต่ครองที่ที่ว่าง การครอง
        ที่ของวัตถุในที่ว่างนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมี2มิติ ได้แก่ มิติยาว
        มิติกว้าง และมิติสูงหรือหนา


ขั้นตอน โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์  หมายถึง การทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ทำโครงงานจะต้องนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (secientific method) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process) มาใช้เพื่อศึกษาหาทางแก้ปัญหาเรื่องใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยผู้ทำโครงงาน เป็นผู้คิดเรื่องหรือเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา มีการวางแผนดำเนินการ (ลงมือปฏิบัติ) บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอผลงานด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จทุกขั้นตอน




          ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

           
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

          
 ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
           ได้แก่ การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

          

    ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
           ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภทใดและการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า

    
ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
           เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่นเอง
    ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
           เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ
           ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทำได้ในหลายระดับ เช่น 
              - การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน
              - การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน
              - การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน
         - การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ            เช่น ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด  ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

      ขอบคุณภาพจาก www.google.co.th


อ่านต่อ :http://writer.dek-d.com/thebeleth/story/view.php?id=425392#ixzz1QIs4rkcn



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น